On the Question of the Question "What is Music": A Reply to Patrapee
อะไรคือดนตรี? คำถามนี้หาใช่ที่ข้าพเจ้าไม่เคยจะหาคำตอบ แน่นอนว่าข้าพเจ้านั้นมีคำตอบนั้นกับตนเอง ทว่าข้าพเจ้านั้นไม่สามารถจะหาคำตอบให้แก่คนอื่นๆ ได้ เพราะสำหรับข้าพเจ้าแล้ว คำตอบดังกล่าวเป็นสิ่งสัมพัทธ์ ขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้มอง ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดก็คือ งานดนตรี ทดลอง หรือ อวองการ์ด ที่คนทั่วไปฟังแล้วก็อาจไม่นึกว่าเป็นดนตรีด้วยซ้ำไป
ทว่างานชิ้นนี้ (เดธเมทัล!: งานเกี่ยวกับประเภทดนตรีเวอร์ชั่นทดลอง) เป็นการพยายามสร้างทฤษฎีโดยทั่วไปเกี่ยวกับการแบ่งแยกประเภทดนตรี จากประสบการณ์การอ่านบทวิจารณ์และสนทนากับผู้เกี่ยวข้องต่างๆ โดยเริ่มจากแนวดนตรีที่ข้าพเจ้ามีความคุ้นเคยเป็นเวลาหลายปี ซึ่งการสร้างทฤษฎีดังกล่าวนั้นหวังผลทางการปฏิบัติ กล่าวคือ หาคำตอบที่ครอบคลุมที่สุดให้กับคำถามที่ว่า "แนวดนตรีหนึ่งๆ นั้นคืออะไร" เพราะ ถึงแม้ว่าข้าพเจ้าจะคิดว่า สิ่งไดๆก็ตามนั้นมันจะเป็นอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับจากที่คนนั้นจะไปเรียกมันอย่างนั้น แม้ว่าการเรียกดังกล่าวนั้น อาจมีความแตกต่างกันอย่างสุดขั้วก็ตาม ข้าพเจ้าคิดว่าในแวดวงที่จำกัดนั้น เราอาจหากฏเกณฑ์โดยคร่าวๆ กับการเรียกดังกล่าวได้ กล่าวคือเป็นการสรุปกฏเกณฑ์โดยทั่วไปของสิ่งที่ปรากฏแบบมีกรอบ เพราะ หากเรารวมการใช้ทั้งหมดที่เป็นไปได้แล้ว เราก็คงจะไม่พ้น นิยามที่ว่า ใดๆ ก็แล้วแต่มันจะเป็นเช่นไรก็ขึ้นอยู่กับการที่คนเรียกมัน
เดธเมทัลนั้นเป็นสิ่งที่ค่อนข้างเฉพาะกลุ่มอยู่แล้ว การใช้โดยทั่วไปจึงไม่เป็นที่หลากหลายนัก พอจะมีจุดร่วมกันและศึกษาได้ ... ทว่าคำว่าดนตรีนั้นเป็นที่ใช้กันทั่วไป และ หลากหลาย ถ้าจะพยายามรวบยอดความหมายแล้ว ผลที่ตามมาก็ คงจะเป็นว่า ทุกอย่างก็คงเป็นดนตรี คล้ายกับที่นักประพันธ์ John Cage นั้นกล่าวว่า "ทุกสิ่งที่เราทำก็คือดนตรี" แต่เอาเข้าจริงแล้วนั่นแทบจะไม่บอกอะไรกับเราเลยอย่างเฉพาะเจาะจง ซึ่งมองในแง่หนึ่งแล้ว มันก็เป็นการสร้างความชอบธรรมให้กับบทเพลงแห่งความเงียบนาม 4'33" ของเขาที่ผู้เล่นนั้นต้องนั่นนิ่งหน้าเปียโนนาน 4 นาที 33 วินาทีอย่างพอดิบพอดี
อาจเป็นได้ว่านี่เกียวข้องอะไรกับเซนที่ Cage นั้นนับถือ แต่ถ้าตัดตรงนั้นออกไปแล้วพิจารณานั้นในฐานะเสียงดนตรีแล้ว ก็คงต้องสรุปว่าอะไรมันก็คงเป็นดนตรีไปหมดจริงๆ นั่นเหลาะ เพราะ "ความเงียบ" นั้นก็ยังเป็นดนตรีเลย อย่าว่าแต่ เสียงลม ก้อนหิน หรือ ท่อไอเสียเลย ไม่แปลกเลยที่นักดนตรีทดลองมากมายนับถือ John Cage มากเพราะ เขานั้นได้สร้างพื้นที่ทางดนตรีให้กับการสร้างสรรค์ทางเสียงทุกอย่าง
แต่นี่ก็คงจะไม่ใช่ความเห็นของคนทั่วไปเพราะ ชาวบ้านร้านตลาดทั่วไปนั้นก็คงไม่เห็นว่า การเอาหวีมาครูดไมโครโฟน การนั่งนิ่งหน้าเปียใน การทำเสียงแปลกๆ หรือ กระทั่งเดธเมทัล นั้นเป็นสิ่งที่เรียกว่า “ดนตรี” ข้าพเจ้าไม่สามารถบังคับให้พวกเขานั้นเห็นในสิ่งที่ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นดนตรีเป็นดนตรีได้ ข้าพเจ้าได้แต่เพียงบอกว่ามันมีคนกลุ่มหนึ่งในโลกนะที่เห็นสิ่งที่พวกนี้เป็นดนตรี ซึ่งนั่นเป็นเหตุที่ข้าพเจ้านั้นคงจะไม่เขียนบทความว่า อะไรคือ ดนตรี ในแง่ที่ว่าอะไรคือ ดนตรีสำหรับทุกคน ข้าพเจ้ายังต่อต้านการบอกว่าดนตรีนั้นเป็นภาษาสากล เพราะ ถ้านิยามอย่างนั้นออกไปแล้ว สิ่งที่ตามมาก็คือ ว่า อะไรไม่ใช่ ภาษาสากลนั้นไม่ใช่ดนตรี ซึ่งผู้ที่จะไม่ใช่ดนตรีพวกแรกๆ นั้นก็คือ พวกดนตรีชายขอบที่มีความเฉพาะ เจาะจง มากๆ ส่วนพวกที่จะยังเป็นดนตรีได้อย่างรอดปลอดภัยก็คือ พวก เวิร์ลดมิวสิก (World Music) ที่โดยทั่วๆ ไปแล้วพยายามทำเพลงให้ผู้คนทุกมุกโลกนั้นฟังอยู่แล้ว
ดังนั้นการนิยามว่าอะไรคือดนตรีนั้น เป็นการเข้าไปยื้อแย่งในการนิยามความเป็นดนตรี ถ้าจะกล่าวแบบฟูโกต์เดียนเก๊ให้ทันสมัยหน่อยก็คือ การพยายามสถาปนาวาทกรรมดนตรีของตนให้เป็นวาทกรรมหลัก ซึ่งข้าพเจ้านั้นไม่ต้องการจะเข้ายึดอำนาจส่วนกลางอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องการการยอมรับในการดำรงอยู่เท่านั้น (ฟังดูเป็นการเมืองหลังสมัยใหม่สิ้นดีเลยให้ตายสิ)
เมื่อ คำถามดังกล่าวนั้นสร้างปัญหามาก ข้าพเจ้าจึงเห็นว่าแต่ละคนนั้นก็ควรจะตอบตัวเองจึงเป็นการดีที่สุด ว่าดนตรี คือ อะไร ซึ่งแน่นอนว่าคำตอบนั้นอาจนำไปสูโลกทัศน์และปฏิบัติการทางดนตรีที่ต่างกัน อย่างไรก็ดีบทความนี้ดูจะเป็นงานที่กลุ่มเป้าหมายนั้นเป็นนักวิจารณ์มากกว่าคนที่ไม่เข้าใจและไม่ได้ทำการแบ่งประเภททางดนตรีบ่อยๆ เพราะ ผมอยากจะถามนักวิจารณ์ ทั้งหลาย เหลือเกินว่า ไอ้การที่คุณนั้นแบ่งประเภทว่าอะไรเป็นแบล็ค เดธ พาวเวอร์ ดูม โกธิค สโตเนอร์ โปรเกรสซีฟ ฯลฯ นั้นคุณมีเกณฑ์อะไร หรือ มันก็แค่การเรียกตามๆ กันมา ที่คุณไม่เคยตั้งคำถามกับมันเลย
อย่างที่ผมน่าจะเขียนไว้ในงานผมบางชิ้นแล้วว่าการจัดประเภทดนตรีเมทัลนั้นเป็นเรื่องน่าศึกษา เพราะความรู้นั้นมันไม่ได้ออกมาจากสถาบันทางวิชาการอย่างการจัดประเภทเพลงคลาสสิก (หรือ ถ้าออกมาก็คงแทบไม่มีใครสนใจเท่าไร) หรือ การจัดประเภทวรรณกรรมที่มีสถาบันการศึกษาหนุนหลัง (ที่คุณพีรพัฒน์เคยถามผมว่า “เรื่องสั้นคืออะไร” นั้นผมก็ว่ามันก็มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดประเภทดนตรีของผม ) การแข่งนั้นเท่าที่ผมรู้แล้วโดยทั่วไปมันก็ไม่มีการแข่งเมทัลอย่างแยกประเภท (ดังนั้นจึงไม่มีปัญหาอย่าง “สรุปว่ามะหมี่นั้นเป็น นักแสดงสมทบ หรือ แสดงนำ” อย่างกรณีของรางวัลสุพรรณหงส์) การแบ่งประเภทดนตรีเมทัลนั้นจึงเกิดจากการบวนการจัดประเภทของมือสมัครเล่น หรือ มืออาชีพก็ตามแต่ ที่ไม่มีวุฒิทางการศึกษาทางนี้มาโดยตรงทั้งสิ้น (เพราะมันไม่มีการศึกษา)
มาตรงนี้แล้วคำถามของผมก็อย่างที่กล่าวคือ ว่าในเมื่อมันไร้ศูนย์กลางและไร้ระเบียบเช่นนี้ แต่คนนั้นก็สื่อสารกันและมีความเข้าใจร่วมกันได้ ดังนั้นมันน่าจะมีกฎเกณฑ์บางอย่างอยู่ มันจึงบังเกิดมาเป็นบทความนี้ ซึ่งปัญหาว่าดนตรีคืออะไรนั้น ผมก็คงจะตอบสั้นๆ ว่าอะไรที่ผมคิดว่าเป็นมันก็เป็นสำหรับผม เมื่อก่อนผมชอบฟังเสียงเครื่องรถเมล์ตอนนั่ง มันก็คงจะเป็นดนตรีสำหรับผมกระมัง แต่เอาข้าจริงแล้วผมก็ไม่เคยคิดว่ามันเป็นดนตรี เช่นเดียวกับงานทุกชิ้นที่ผมฟัง เพราะผมคิดว่า ไอ้คำว่าดนตรีนั้นมันไม่จำเป็นแม้แต่นิดสำหรับการสื่อสารกับตัวผมเอง ผมพยายามรับรู้เสียงต่างๆ และอารมณ์ของมัน ก็เท่านั้น ผมพยายามรับรู้สุนทรียะของเสียงโดยที่ผมไม่จำเป็นต้องใช้คอนเซ็ปต์ดนตรีด้วยซ้ำไป แต่แน่นอนเวลาผมพูดกับคนอื่นผมก็ต้องใช้คำว่าดนตรีบ้าง แต่ก็ใช้หลวมๆ ตามที่ชาวบ้านเขาใช้กัน ซึ่งตรงนี้สำคัญมาก เพราะ ถึงผมจะไม่คิดว่ามนุษย์นั้นจำต้องเป็นสัตว์สังคม แต่ผมคงไม่ใช่ข้อยกเว้น ดังนั้นการเข้ามาอยู่ในสังคมแล้วมันก็คงต้องมีบ้างที่เรานั้นจะใช้คำต่างๆ เพียงเพราะว่า “เขาเรียกกันมาอย่างนั้น” หรือ “ใครๆเขาก็เรียกกัน” นี่เป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้อย่างน้อยก็ในกรอบคิดแบบ Zizekian ของผม และ ผมก็คิดว่าในแง่หนึ่งแล้วมันก็เปล่าประโยชน์ที่จะหาคำตอบของคำถามว่า ดนตรีคืออะไร จากการใช้เพราะมันหลากหลายอย่างที่บอก และ ก็ยากที่จะหาคนที่มีนิยามอย่างหนักแน่นในการใช้คำว่าดนตรี หรือ ถึงมีมันก็คงจะเป็นเรื่องที่เฉพาะตัว หรือ เฉพาะกลุ่มเป็นอย่างยิ่ง เช่นในกรณีของ John Cage
นี่กระมังที่ทำให้ผมไม่เขียนบทความถึงความเป็นดนตรี
ทว่างานชิ้นนี้ (เดธเมทัล!: งานเกี่ยวกับประเภทดนตรีเวอร์ชั่นทดลอง) เป็นการพยายามสร้างทฤษฎีโดยทั่วไปเกี่ยวกับการแบ่งแยกประเภทดนตรี จากประสบการณ์การอ่านบทวิจารณ์และสนทนากับผู้เกี่ยวข้องต่างๆ โดยเริ่มจากแนวดนตรีที่ข้าพเจ้ามีความคุ้นเคยเป็นเวลาหลายปี ซึ่งการสร้างทฤษฎีดังกล่าวนั้นหวังผลทางการปฏิบัติ กล่าวคือ หาคำตอบที่ครอบคลุมที่สุดให้กับคำถามที่ว่า "แนวดนตรีหนึ่งๆ นั้นคืออะไร" เพราะ ถึงแม้ว่าข้าพเจ้าจะคิดว่า สิ่งไดๆก็ตามนั้นมันจะเป็นอย่างไร ก็ขึ้นอยู่กับจากที่คนนั้นจะไปเรียกมันอย่างนั้น แม้ว่าการเรียกดังกล่าวนั้น อาจมีความแตกต่างกันอย่างสุดขั้วก็ตาม ข้าพเจ้าคิดว่าในแวดวงที่จำกัดนั้น เราอาจหากฏเกณฑ์โดยคร่าวๆ กับการเรียกดังกล่าวได้ กล่าวคือเป็นการสรุปกฏเกณฑ์โดยทั่วไปของสิ่งที่ปรากฏแบบมีกรอบ เพราะ หากเรารวมการใช้ทั้งหมดที่เป็นไปได้แล้ว เราก็คงจะไม่พ้น นิยามที่ว่า ใดๆ ก็แล้วแต่มันจะเป็นเช่นไรก็ขึ้นอยู่กับการที่คนเรียกมัน
เดธเมทัลนั้นเป็นสิ่งที่ค่อนข้างเฉพาะกลุ่มอยู่แล้ว การใช้โดยทั่วไปจึงไม่เป็นที่หลากหลายนัก พอจะมีจุดร่วมกันและศึกษาได้ ... ทว่าคำว่าดนตรีนั้นเป็นที่ใช้กันทั่วไป และ หลากหลาย ถ้าจะพยายามรวบยอดความหมายแล้ว ผลที่ตามมาก็ คงจะเป็นว่า ทุกอย่างก็คงเป็นดนตรี คล้ายกับที่นักประพันธ์ John Cage นั้นกล่าวว่า "ทุกสิ่งที่เราทำก็คือดนตรี" แต่เอาเข้าจริงแล้วนั่นแทบจะไม่บอกอะไรกับเราเลยอย่างเฉพาะเจาะจง ซึ่งมองในแง่หนึ่งแล้ว มันก็เป็นการสร้างความชอบธรรมให้กับบทเพลงแห่งความเงียบนาม 4'33" ของเขาที่ผู้เล่นนั้นต้องนั่นนิ่งหน้าเปียโนนาน 4 นาที 33 วินาทีอย่างพอดิบพอดี
อาจเป็นได้ว่านี่เกียวข้องอะไรกับเซนที่ Cage นั้นนับถือ แต่ถ้าตัดตรงนั้นออกไปแล้วพิจารณานั้นในฐานะเสียงดนตรีแล้ว ก็คงต้องสรุปว่าอะไรมันก็คงเป็นดนตรีไปหมดจริงๆ นั่นเหลาะ เพราะ "ความเงียบ" นั้นก็ยังเป็นดนตรีเลย อย่าว่าแต่ เสียงลม ก้อนหิน หรือ ท่อไอเสียเลย ไม่แปลกเลยที่นักดนตรีทดลองมากมายนับถือ John Cage มากเพราะ เขานั้นได้สร้างพื้นที่ทางดนตรีให้กับการสร้างสรรค์ทางเสียงทุกอย่าง
แต่นี่ก็คงจะไม่ใช่ความเห็นของคนทั่วไปเพราะ ชาวบ้านร้านตลาดทั่วไปนั้นก็คงไม่เห็นว่า การเอาหวีมาครูดไมโครโฟน การนั่งนิ่งหน้าเปียใน การทำเสียงแปลกๆ หรือ กระทั่งเดธเมทัล นั้นเป็นสิ่งที่เรียกว่า “ดนตรี” ข้าพเจ้าไม่สามารถบังคับให้พวกเขานั้นเห็นในสิ่งที่ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นดนตรีเป็นดนตรีได้ ข้าพเจ้าได้แต่เพียงบอกว่ามันมีคนกลุ่มหนึ่งในโลกนะที่เห็นสิ่งที่พวกนี้เป็นดนตรี ซึ่งนั่นเป็นเหตุที่ข้าพเจ้านั้นคงจะไม่เขียนบทความว่า อะไรคือ ดนตรี ในแง่ที่ว่าอะไรคือ ดนตรีสำหรับทุกคน ข้าพเจ้ายังต่อต้านการบอกว่าดนตรีนั้นเป็นภาษาสากล เพราะ ถ้านิยามอย่างนั้นออกไปแล้ว สิ่งที่ตามมาก็คือ ว่า อะไรไม่ใช่ ภาษาสากลนั้นไม่ใช่ดนตรี ซึ่งผู้ที่จะไม่ใช่ดนตรีพวกแรกๆ นั้นก็คือ พวกดนตรีชายขอบที่มีความเฉพาะ เจาะจง มากๆ ส่วนพวกที่จะยังเป็นดนตรีได้อย่างรอดปลอดภัยก็คือ พวก เวิร์ลดมิวสิก (World Music) ที่โดยทั่วๆ ไปแล้วพยายามทำเพลงให้ผู้คนทุกมุกโลกนั้นฟังอยู่แล้ว
ดังนั้นการนิยามว่าอะไรคือดนตรีนั้น เป็นการเข้าไปยื้อแย่งในการนิยามความเป็นดนตรี ถ้าจะกล่าวแบบฟูโกต์เดียนเก๊ให้ทันสมัยหน่อยก็คือ การพยายามสถาปนาวาทกรรมดนตรีของตนให้เป็นวาทกรรมหลัก ซึ่งข้าพเจ้านั้นไม่ต้องการจะเข้ายึดอำนาจส่วนกลางอยู่แล้ว เพียงแต่ต้องการการยอมรับในการดำรงอยู่เท่านั้น (ฟังดูเป็นการเมืองหลังสมัยใหม่สิ้นดีเลยให้ตายสิ)
เมื่อ คำถามดังกล่าวนั้นสร้างปัญหามาก ข้าพเจ้าจึงเห็นว่าแต่ละคนนั้นก็ควรจะตอบตัวเองจึงเป็นการดีที่สุด ว่าดนตรี คือ อะไร ซึ่งแน่นอนว่าคำตอบนั้นอาจนำไปสูโลกทัศน์และปฏิบัติการทางดนตรีที่ต่างกัน อย่างไรก็ดีบทความนี้ดูจะเป็นงานที่กลุ่มเป้าหมายนั้นเป็นนักวิจารณ์มากกว่าคนที่ไม่เข้าใจและไม่ได้ทำการแบ่งประเภททางดนตรีบ่อยๆ เพราะ ผมอยากจะถามนักวิจารณ์ ทั้งหลาย เหลือเกินว่า ไอ้การที่คุณนั้นแบ่งประเภทว่าอะไรเป็นแบล็ค เดธ พาวเวอร์ ดูม โกธิค สโตเนอร์ โปรเกรสซีฟ ฯลฯ นั้นคุณมีเกณฑ์อะไร หรือ มันก็แค่การเรียกตามๆ กันมา ที่คุณไม่เคยตั้งคำถามกับมันเลย
อย่างที่ผมน่าจะเขียนไว้ในงานผมบางชิ้นแล้วว่าการจัดประเภทดนตรีเมทัลนั้นเป็นเรื่องน่าศึกษา เพราะความรู้นั้นมันไม่ได้ออกมาจากสถาบันทางวิชาการอย่างการจัดประเภทเพลงคลาสสิก (หรือ ถ้าออกมาก็คงแทบไม่มีใครสนใจเท่าไร) หรือ การจัดประเภทวรรณกรรมที่มีสถาบันการศึกษาหนุนหลัง (ที่คุณพีรพัฒน์เคยถามผมว่า “เรื่องสั้นคืออะไร” นั้นผมก็ว่ามันก็มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดประเภทดนตรีของผม ) การแข่งนั้นเท่าที่ผมรู้แล้วโดยทั่วไปมันก็ไม่มีการแข่งเมทัลอย่างแยกประเภท (ดังนั้นจึงไม่มีปัญหาอย่าง “สรุปว่ามะหมี่นั้นเป็น นักแสดงสมทบ หรือ แสดงนำ” อย่างกรณีของรางวัลสุพรรณหงส์) การแบ่งประเภทดนตรีเมทัลนั้นจึงเกิดจากการบวนการจัดประเภทของมือสมัครเล่น หรือ มืออาชีพก็ตามแต่ ที่ไม่มีวุฒิทางการศึกษาทางนี้มาโดยตรงทั้งสิ้น (เพราะมันไม่มีการศึกษา)
มาตรงนี้แล้วคำถามของผมก็อย่างที่กล่าวคือ ว่าในเมื่อมันไร้ศูนย์กลางและไร้ระเบียบเช่นนี้ แต่คนนั้นก็สื่อสารกันและมีความเข้าใจร่วมกันได้ ดังนั้นมันน่าจะมีกฎเกณฑ์บางอย่างอยู่ มันจึงบังเกิดมาเป็นบทความนี้ ซึ่งปัญหาว่าดนตรีคืออะไรนั้น ผมก็คงจะตอบสั้นๆ ว่าอะไรที่ผมคิดว่าเป็นมันก็เป็นสำหรับผม เมื่อก่อนผมชอบฟังเสียงเครื่องรถเมล์ตอนนั่ง มันก็คงจะเป็นดนตรีสำหรับผมกระมัง แต่เอาข้าจริงแล้วผมก็ไม่เคยคิดว่ามันเป็นดนตรี เช่นเดียวกับงานทุกชิ้นที่ผมฟัง เพราะผมคิดว่า ไอ้คำว่าดนตรีนั้นมันไม่จำเป็นแม้แต่นิดสำหรับการสื่อสารกับตัวผมเอง ผมพยายามรับรู้เสียงต่างๆ และอารมณ์ของมัน ก็เท่านั้น ผมพยายามรับรู้สุนทรียะของเสียงโดยที่ผมไม่จำเป็นต้องใช้คอนเซ็ปต์ดนตรีด้วยซ้ำไป แต่แน่นอนเวลาผมพูดกับคนอื่นผมก็ต้องใช้คำว่าดนตรีบ้าง แต่ก็ใช้หลวมๆ ตามที่ชาวบ้านเขาใช้กัน ซึ่งตรงนี้สำคัญมาก เพราะ ถึงผมจะไม่คิดว่ามนุษย์นั้นจำต้องเป็นสัตว์สังคม แต่ผมคงไม่ใช่ข้อยกเว้น ดังนั้นการเข้ามาอยู่ในสังคมแล้วมันก็คงต้องมีบ้างที่เรานั้นจะใช้คำต่างๆ เพียงเพราะว่า “เขาเรียกกันมาอย่างนั้น” หรือ “ใครๆเขาก็เรียกกัน” นี่เป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้อย่างน้อยก็ในกรอบคิดแบบ Zizekian ของผม และ ผมก็คิดว่าในแง่หนึ่งแล้วมันก็เปล่าประโยชน์ที่จะหาคำตอบของคำถามว่า ดนตรีคืออะไร จากการใช้เพราะมันหลากหลายอย่างที่บอก และ ก็ยากที่จะหาคนที่มีนิยามอย่างหนักแน่นในการใช้คำว่าดนตรี หรือ ถึงมีมันก็คงจะเป็นเรื่องที่เฉพาะตัว หรือ เฉพาะกลุ่มเป็นอย่างยิ่ง เช่นในกรณีของ John Cage
นี่กระมังที่ทำให้ผมไม่เขียนบทความถึงความเป็นดนตรี
3 Comments:
เห็นด้วยกับคุณ Patrapeeกับการที่ปัญหาทั้งปวงนั้นเกิดจากคน
แต่ถ้าจะให้ตรงกว่านั้น ในกรอบแบบ Lacanian ที่ข้าพเจ้าใช้อยู่ก็คือ ปัญหาเหล่านี้เกิดจากสิ่งที่เรียกว่า The Other หรือ Symbolic Order ทั้งสิ้น
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? ถ้าจะให้กล่าวอย่างง่ายๆ ก็คือ สิ่งต่างๆ นั้นก็เพียงแต่ดำรงอยู่บนโลกเท่านั้น แต่ความเข้าใจของคนผ่านระบบสัญลักษณ์ ภาษา กฏเกณฑ์ต่างๆ นั้น ได้สร้างตามแตกต่างกันขึ้นมาในสรรพสิ่ง ตัวสรรพสิ่งต่างๆ เองนั้นก็ได้แต่เพียงอยู่อย่างนิ่งเฉย เช่นเดียวกับเสียงต่างๆ ที่คนไปจัดประเภท
แต่ปัญหาก็คือ เราไม่สามารถหลุดออกไปจากสิ่งเหล่านี้ได้ เราไม่สามารถละทิ้งระบบสัญลักษณ์ได้ หรือ ถ้าจะให้ตรงกว่านั้นก็คือเมื่อเราเข้ามาอยู่ในระบบสัญลักษณ์นั้นเราออกไปไม่ได้ อย่างน้อยก็ในฐานะของคนสติดีๆ ทั่วๆไป
ภายใต้กรอบเช่นนี้จริยศาสตร์ในแบบประนีประนอมก็คือ ในเมื่อเราถูกตัดขาดจากโลกอย่างที่มันเป็นเพราะภาษาแล้ว เราจะทำอะไรต่อ?
เราจะอยู่ด้วยกันอย่างไร ข้าพเจ้ายังมีความเห็นว่าหนทางเดียวที่จะกำจัดปัญหาได้ก็คือการทำลายทุกสิ่งให้หมด แต่นั่นก็ยังไม่ใช่สิ่งที่ข้าพเจ้าเสนอในงานสักชิ้นเพราะ ถ้าเป็นเช่นนั้นข้าพเจ้าก็ควรนั่งวางแผนทำลายจักรวาลมากกว่าเขียนงาน
ข้าพเจ้าคิดว่า คนนั้นควรจะเรียนรู้ที่จะอยู่กับปัญหาที่ไม่มีวันจบสิ้นในในโลกของเขา หรือ อย่างที่ Lacanian เรียกว่า Identify with The Symptom (นี่เป็นการกล่าวแบบประยุกต์ใช้เป็นอย่างมาก)
หลังจากข้าพเจ้านั้นขบคิดแล้วทางออกในการจัดประเภทสรรพสิ่งมีสองทาง หนึ่งคือ ไม่จัดประเภท คือ เห็นทุกสิ่งเหมือนกันหมด สอง คือ เห็นทุกสิ่งต่างกันหมด ทรายแต่ละเม็ดไม่เหมือนกัน เซลล์แต่ละเซลล์ก็ไม่เหมือนกัน เป็นการจัดประเภทในระดับสูงสุด จนแทบจะเรียกได้ว่าเป็นการไม่จัดประเภท (ในแง่ของการเห็นเพียงแต่ความแตกต่าง ไม่เห็นความเหมือนในสรรพสิ่ง-สิ่งที่จำเป็นในการจัดประเภทนั้นคือ ทั้งความเหมือนและ ความต่าง ไม่ใช่แต่เพียงอย่างหลัง)
ข้าพเจ้าเคยขบคิดถึงทางออกนี้เหมือนกันและก็พบว่ามันเหลวไหลไม่มีใครทำได้ แต่สิ่งที่ดูเหลวไหลไม่มีใครทำได้ (ในความหมายที่ว่าไม่มีชาวบ้านทั่วไปที่ไหนเขาทำได้ ไม่ใช่หมายความว่า) เหล่านี้นั้นเองไม่ใช่หรือที่นักคิดนักปรัชญาทั่วโลกนั้นเสนอมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็น ราชานักปรัชญา พลเมืองที่ตื่นตัวและ ชอบพูดคุยทางการเมือง หรือ สังคมอุดมคติที่ทุกคนนั้นช่วยกันผลิตและแบ่งปันผลผลิต ฯลฯ
ดังนั้นข้าพเจ้าคิดว่า ทางออกอันบ้าคลั่งทั้งสองนี้ถึงที่สุดแล้วคือ ทางออกของปัญหาการจัดประเภท ... แต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ เราดันติดอยู่ตรงกลางของทั้งสองทางออก และเราก็ดูจะไม่สามารถหลุดไปได้ด้วย คนทุกๆ คนอยู่ระหว่างทั้งสองทางออกนี้ แต่อยู่คนละที่ ราวกับว่า “ทางสายกลาง” นั้นมีหลายสาย ซึ่งนี่เองที่ทำให้ถึงที่สุดแล้วก็จะทำให้การจัดประเภทนั้นไม่มีวันสิ้นสุดและ ไม่เป็นฉันทามติได้ ... ตราบเท่าที่คนนั้นมีเสรีภาพในการจัดประเภท เช่นเดียวกับเสรีภาพในการพูด, การเขียน และเสรีภาพอื่นๆ ซึ่งการทำลายเสรีภาพในการจัดประเภทนั้น ก็คงไม่ต้องอธิบายอะไรมากว่าเป็นเป็นแนวคิดแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ (Totalitarian) เพียงไร ... ซึ่งก็มีเพียงสิ่งเหล่านี้กระมังที่จะจบปัญหาในการจัดประเภทได้
แต่ก็คงแทบจะไม่มีใครเลือกทางเลือกนี้ (ข้าพเจ้าด้วย) และก็คงต้องอยู่กับการจัดประเภทที่ไม่มีที่สิ้นสุดได้ต่อไป เพราะราคาที่จะจบมันลงไปนั้นแพงเกินไป นี่ก็คงจะเป็นการ Identify With The Symptom กระมัง และ สิ่งที่เป็นอาการ (Symptom) นั้นก็คงจะไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากการไม่สามารถหากฎตายตัวในการประเภทได้นั่นเอง
ผมขอเขียนในนี้เลยนะครับ ถ้าคิดว่าอันไหนมันไม่เข้ากับเรื่องลบซะก็ได้
คือ เรื่องที่เราเคยคุยกันเรื่อง ชุมชนดนตรีแรดิกัล อะไรประมาณนี้เนี่ย ผมคิดว่าเราควรจะเริ่มทำไรซักอย่างนะครับ
เพราะถ้าพวกเรา ซึ่งก็เป็นคนส่วนน้อย ไม่เริ่มก็ต้องภาวนาให้คนอื่นเริ่มซึ่งเป็นเรื่องยาก
เห็นด้วยครับ ผมทิ้งเมล์ไว้อีกคอมเมนต์แล้ว
Post a Comment
<< Home